ชนชาติไทยมีภาษาเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ เป็นเครื่องแสดงว่าชาติไทยมีวัฒนธรรมที่สูงส่งมาแต่โบราณกาล ภาษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตภูมิปัญญา ภาษายังเป็นเอกลักษณ์ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชาติอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงของภาษา

 

  ภาษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเป็นลักษณะธรรมดาของภาษาที่ยังไม่ตาย คือเป็นภาษาที่ยังมีผู้ใช้ในชีวิตประจำวันและภาษาจะเปลี่ยนแปลงได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับการยอมรับส่วนใหญ่ของผู้ใช้ภาษานั้น ๆ
       ปราณี กุลละวณิชย์ และคณะ (๒๕๔๐ : ๕๓) การเปลี่ยนแปลงของภาษาเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น การเปลี่ยนแปลงในคลังคำการเปลี่ยนแปลงของความหมาย (ความหมายกว้างออก, ความหมายแคบเข้า, ความหมายส่องไปในทางที่เลวลง)  การเปบลบี่ยนแปลงทางเสียง ซึ่งเกิดขึ้นในคำส่วนใหญ่ของภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงทางไวยากรณ์
       ภาษาที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นปกติ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษา อาจแบ่งออกเป็น ๒ ปัจจัยหลัก ดังนี้
       ๑) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากจากผู้พูด โดยผู้พูดภาษาส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาเพื่อความสะดวกในการออกเสียง การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากตัวผู้พูดนี้ ทำให้ภาษามีการแปรในรูปแบบต่างๆ
กัน เช่น เพศ การศึกษา ฐานะทางสังคม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเมื่อเวลาผ่านไป
        ๒) ความเจริญก้าหน้าทางวิชาการมีผลทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ความคิดใหม่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาคำมาใช้พูดถึงสิ่งประดิษฐ์และความคิดใหม่นั้น อาทิ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ กาชาด เครื่องปรับอากาศ ซึ่งนิยมการสร้างคำขึ้นใหม่ด้วยวิธีการยืมศัพท์ แปลศัพท์ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบเสียงของภาษานั้น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น